สำหรับคอร์ส Boost Up IELTS Writing นี้ เนื้อหาในการสอนนั้นเป็นการสอนเขียนแบบ step by step เสมือนว่าได้นั่งเขียนไปด้วยกันกับผู้เรียนในทุกขั้นตอน ซึ่งแน่นอนว่าด้วยเวลาสอบจริงที่มีอยู่อย่างจำกัด คือ 1 ชั่วโมงกับงานเขียน 2 ชิ้น รวมทั้งหมดขั้นต่ำ 400 คำ จึงถือว่าไม่ง่ายเลยสำหรับผู้สอบที่ไม่ได้เป็นเจ้าของภาษา (native speakers) เนื่องจากผู้สอบต้องจดจำคำศัพท์ที่หลากหลาย รูปแบบประโยคที่ซับซ้อน และโครงสร้างที่ใช้เขียนเพื่อเรียกคะแนนจากผู้ตรวจ ซึ่งได้เตรียมเทคนิคต่างๆ อย่างครอบคลุมไว้ให้หมดแล้วในคอร์สนี้
Task 1 บทเรียนที่ 2-10
การเขียน กราฟแท่ง กราฟเส้น แผนภูมิวงกลม ตาราง ฯลฯ และรวมถึงเขียนอธิบายขั้นตอน เปรียบเทียบแผนที่ เป็นต้น ซึ่งหลังๆ มีในข้อสอบแนวนี้บ่อยพอสมควร
Task 2 บทเรียนที่ 11-23
สอนการเขียนข้อสอบหลากหลากรูปแบบทั้ง agree / disagreement, advantage / disadvantage, discuss both views และ problem / solution นอกจากนี้ยังมีบทเรียนเพิ่มเติมแยกตามหัวข้อที่ออกสอบบ่อยให้ผู้เรียนได้ศึกษา เช่น เทคโนโลยี สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งในแต่ละบทเรียนนั้นก็มีคำศัพท์ที่ใช้ในสาขานั้นๆ ประกอบ และตัวอย่างประโยคที่ใช้ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปใช้ในการสอบจริงอีกด้วย
ประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ
ผู้เรียนเรียนรู้เทคนิคต่างๆมากมาย และสามารถนำไปใช้สอบวัดผลใน Part IELTS Writing ได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว และครบจำนวนคำตามที่ข้อสอบกำหนด
บทเรียนที่ 1
บทเรียนที่ 2 (Task 1)
สอนโครงสร้างของการเขียน Task 1 ที่ประกอบด้วย Intro, Detail (Body), Conclusion ซึ่งแน่นอนว่าจะมีสอนสำนวนที่ใช้เปิดย่อหน้าต่างๆ ด้วย
บทเรียนที่ 3 (Task 1)
สำหรับบทเรียนนี้จะสอนการเขียนประโยคที่มักใช้ประจำในการเขียน Task 1 เช่น เขียนบรรยายการเพิ่มขึ้น การลดลงของข้อมูลในกราฟ, การขึ้นจุดสูงสุด การลงจุดต่ำสุด เป็นต้น
บทเรียนที่ 4 (Task 1)
ทำความรู้จักกับกราฟเส้น อ่านกราฟ หาจุดเด่นที่จะต้องนำมาใช้เขียนในบทความ สอนตั้งแต่เริ่มประโยคเปิด เข้าประโยคภาพรวม รายละเอียดต่างๆ ไปจนถึงย่อหน้าสรุปปิดงานเขียน
บทเรียนที่ 5 (Task 1)
ทำความรู้จักกับกราฟแท่ง ฝึกอ่านและตีความโจทย์ หาจุดเด่นของกราฟออกมาให้ได้อย่างรวดเร็ว นำมาใส่ในโครงสร้างที่ได้เรียนไปในบทแรกเพื่อสร้างความคุ้นเคยในการเขียน
บทเรียนที่ 6 (Task 1)
แผนภูมิวงกลมจะมีความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว วิธีอ่านข้อมูลก็จะไม่เหมือนแบบอื่นๆ ดังนั้นในบทเรียนนี้จะสอนการเขียนบอกสัดส่วน การเปรียบเทียบต่างๆ ที่ต้องใช้
บทเรียนที่ 7 (Task 1)
การอธิบายข้อมูลจากตารางน่าจะเป็นสิ่งที่ผู้เรียนคุ้นเคยมากที่สุด แน่นอนว่าผู้เขียนส่วนมากจะเขียนอธิบายทุกรายละเอียดที่มีในตาราง ซึ่งยังไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องสำหรับการเขียน IELTS ผู้เรียนจะได้เรียนการแบ่งข้อมูล จับกลุ่มข้อมูลที่กระจัดกระจายแล้วนำมาอธิบายในย่อหน้า
บทเรียนที่ 8 (Task 1)
ผู้สอบหลายท่านมองข้ามการเขียนอธิบายแผนที่ซึ่งหลังๆ มีแนวโน้มว่าจะนำมาออกเป็นข้อสอบบ่อยขึ้น ในบทเรียนนี้จะสอนการเขียนเปรียบเทียบแผนที่ที่เดียวกันแต่ต่างเวลากัน ซึ่งผู้สอบต้องเขียนว่าอะไรเพิ่มเข้ามา อะไรที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงอธิบายสิ่งที่ยังคงเดิมด้วย
บทเรียนที่ 9 (Task 1)
สำหรับบทเรียนแผนภาพ (diagram) ผู้สอนจะเน้นในเรื่องของการอธิบายลำดับ ขั้นตอน อะไรเกิดขึ้นก่อน อะไรตามมา แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
บทเรียนที่ 10 (Task 1)
เนื้อหาบทเรียนนี้เป็นการอธิบายถึงโจทย์อีกปะเภทที่แตกต่างจากกราฟที่เรียนมา กล่าวคือให้ผสมกันมา 2 แบบ ซึ่งการเขียนไม่ต่างกันมากจากแบบกราฟเดี่ยว แต่อาจต้องมีการปรับโครงสร้างและการจัดย่อหน้า รวมถึงการเขียนประโยคเปิด Introduction นิดหน่อยก็สามารถนำไปใช้ทำข้อสอบได้เหมือนกราฟประเภทอิ่นๆ
บทเรียนที่ 11 (Task 2)
สอนการแบ่งเวลาทำโจทย์ และประโยคแรกที่ใช้เปิดย่อหน้า Introduction
บทเรียนที่ 12 (Task 2)
สอนโครงสร้างของการเขียน Task 2 ที่ประกอบด้วย Intro, Detail (Body), Conclusion ซึ่งแน่นอนว่าจะมีสอนสำนวนที่ใช้เปิดย่อหน้าต่างๆ ด้วย
บทเรียนที่ 13 (Task 2)
สำหรับบทเรียนนี้จะสอนการเขียนประโยคที่มักใช้ประจำในการเขียน Task 2 เช่น ประโยคเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ประโยคแสดงความปรารถนาของผู้เขียน ประโยคเปิด Body เป็นต้น
บทเรียนที่ 14 (Task 2)
สำหรับบทเรียนนี้จะต่อจากบทเรียนที่แล้ว มีสอน การเขียนเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประโยค เช่น ดังนั้น, ยิ่งไปกว่านั้น, อย่างไรก็ตาม ฯลฯ
บทเรียนที่ 15 (Task 2)
ตั้งแต่บทเรียนที่ 15-18 ของ Task 2 จะเน้นรูปแบบการเขียนที่ใช้ออกบ่อยในข้อสอบ IELTS โดยที่บทนี้จะแนะนำการเขียนบทความประเภทให้แสดงจุดยืนส่วนตัวว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับโจทย์ที่ให้มา
บทเรียนที่ 16 (Task 2)
เช่นเดียวกันกับบทก่อนหน้า แต่บทเรียนนี้จะเน้นการเขียนบทความประเภทกล่าวถึงข้อดี ข้อเสียของหัวข้อโจทย์ที่ให้มา
บทเรียนที่ 17 (Task 2)
สำหรับ discuss both views เป็นการกล่าวทั้งสองด้านในหัวข้อเกี่ยวกับโจทย์ที่ให้มา
บทเรียนที่ 18 (Task 2)
ส่วน problem / solution จะมีรูปแบบการเขียนที่แตกต่างจากอันอื่นๆ แต่ก็มีโครงสร้างชัดเจนกว่า บทเรียนนี้จะมาเน้นในส่วนของการวางโครงสร้างและแนวในการเขียนผ่านตัวอย่างโจทย์ที่ให้มา
บทเรียนที่ 19 (Task 2)
ตั้งแต่บทเรียนที่ 9-12 ของ Task 2 ยังคงเป็นการสอนเขียนเช่นเดิม แต่จะแยกหัวข้อเป็นประเด็นต่างๆ ที่ออกสอบ ซึ่งในบทเรียนนี้จะเน้นในส่วนการศึกษา (Education) โดยการเรียนบทนี้จะเป็นการให้ตัวอย่างคำศัพท์ และสอนเขียนประโยคโดยใช้คำศัพท์หรือวลีที่ให้มาเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียนในระดับประโยค และปิดท้ายด้วยตัวอย่างโจทย์ให้ผู้เรียนสามารถฝึกเขียน และตัวอย่างคำตอบเพื่อให้ศึกษาแนวทางว่าควรเขียนไปในทิศทางใด
บทเรียนที่ 20 (Task 2)
บทเรียนนี้หัวข้อเทคโนโลยี (Technology) โดยการเรียนบทนี้จะเป็นการให้ตัวอย่างคำศัพท์ และสอนเขียนประโยคโดยใช้คำศัพท์หรือวลีที่ให้มาเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียนในระดับประโยค และปิดท้ายด้วยตัวอย่างโจทย์ให้ผู้เรียนสามารถฝึกเขียน และตัวอย่างคำตอบเพื่อให้ศึกษาแนวทางเพิ่มเติม
บทเรียนที่ 21 (Task 2)
สิ่งแวดล้อม (Environment) เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่ออกสอบบ่อย เราจะเรียนการเขียนผ่านคำศัพท์ การเขียนประโยค ตัวอย่างโจทย์ และตัวอย่างคำตอบ รวมทั้งการวิเคราะห์คำตอบด้วย
บทเรียนที่ 22 (Task 2)
บทนี้จะโพกัสในหัวข้อสุขภาพ (Health) ผู้เรียนจะได้เรียนรู้คำศัพท์ที่ควรนำไปใช้ ซึ่งศัพท์สายสุขภาพอาจเป็นสิ่งที่ผู้เรียนไม่คุ้นเคยมาก แต่ถ้าหากผู้เรียนได้นำศัพท์เหล่านี้ไปใช้ในการสอบแล้ว เชื่อว่าจะทำคะแนนได้เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
บทเรียนที่ 23 (Task 2)
การท่องเที่ยว (Tourism) เป็นอีกหัวข้อที่แม้ใกล้ตัว ดูแล้วไม่ยากมาก แต่ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะในหลายครั้งข้อสอบตั้งโจทย์ท่องเที่ยว แต่พ่องประเด็นอื่นๆ ตามมา เช่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สัตว์ที่ใกล้สูญพันธ์ การสร้างงาน รายได้ให้กับคนท้องถิน การรับวัฒนธรรมจากนักท่องเที่ยว ฯลฯ ซึ่งการเพิ่มไอเดียเหล่านี้ จะทำให้งานเขียนของผู้สอบเพิ่มความน่าสนใจขึ้นอย่างมาก